วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กติกา



คู่แข่งขัน
1. คำจำกัดความของคู่แข่งขัน 
    คู่แข่งขัน 1 คู่ จะประกอบด้วย ชาย 1 คน และคู่เต้นที่เป็นหญิง 1 คน 

2. คู่แข่งขันที่ต่างสัญชาติกัน
1.1    คู่แข่งขันที่เคยเป็นตัวแทนประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่อนุญาตให้เป็นตัวแทนของประเทศอื่นอีกจน กว่าเวลาจะผ่านพ้นไป 12 เดือน     
2.2    ในกรณีที่เป็นการแข่งขัน ที่จัดโดยคณะกรรมการโอลิมปิคสากล ( International Olympic CommitteeIOC หรือสมาคมเวิลด์เกมส์นานาชาติ (International World Games Association: IWGA ) ไม่อนุญาตให้คู่แข่งขันที่ต่างสัญชาติกัน เข้าร่วมทำการแข่งขัน เพื่อให้เป็นไปตามกฎของคณะ กรรมการโอลิมปิคสากล คู่แข่งขันที่เป็นตัวแทนของชาตินั้น นักแข่งขันแต่ละคน จะต้องมีหนังสือเดินทางของชาติของตน ซึ่งส่งโดยสมาคมที่เป็นสมาชิกของ สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ  
  2.3     การแข่งขันชิงถ้วย Formation ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ( IDSF Championships / Cups Formation ) อย่างน้อยต้องมีนักกีฬาเข้าแข่งขันจำนวน 12 คน ในหนึ่งทีม ที่จะต้องจัดส่งหนังสือเดินทางของชาติตนเอง โดยสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ 
 

การแต่งกายของนักกีฬา

         สำหรับการแข่งขันทั้งหมดที่ได้จัดขึ้นโดย สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ  การ แต่งกายของผู้เข้าแข่งขัน ให้ปฏิบัติสอดคล้องกับ ระเบียบการแต่งกายของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ระเบียบการแต่งกายสำหรับการแข่งขันของสหพันธ์ฯ เหล่านี้ เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของกติกาการแข่งขัน ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ 
         สำหรับทุกๆ เกณฑ์อายุ : ส่วนสะโพกของฝ่ายหญิง ต้องปกปิดไว้ให้มิดชิดตลอดเวลา ประธานกรรมการ หรือผู้อำนวยการฝ่ายกีฬา ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ มีอำนาจที่จะตัดสิทธิ์คู่แข่งขัน ที่สวมใส่ชุดแข่งขันที่ไม่เป็นไปตามกฎระเบียบของข้อนี้ นอกเหนือจากนี้แล้ว คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ จะลงโทษทางวินัย ไม่ให้สิทธิ์คู่แข่งขัน เข้าร่วมในการแข่งขันต่างๆ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง


วิธีการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติต่างๆ

1. ประธานกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (โดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้ง) ซึ่งรับผิดชอบในการควบคุมดูแล การแข่งขันที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์  ในการแข่งขันนานาชาติใด ที่ประธานกรรมการไม่ได้ถูกแต่งตั้งโดยสหพันธ์ ผู้จัดการแข่งขันจะต้องแต่งตั้งประธานเอง (โดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้ง) 
2.  กรรมการผู้ตัดสินในการแข่งขันระดับนานาชาติต่างๆ จะต้องมีกรรมการผู้ตัดสิน ทำหน้าที่ตัดสินโดย
·         กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 7 คน โดยเป็นไปตามกติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1, 2, 4 a - c และ 7 
·         กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 5 คน ในข้อย่อยที่ 3, 5, 6 และ 8 
·         กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 3 คน ในการแข่งขันประเภท ทีม - คู่ ( Team Matches ) 
 3.  สำหรับการแข่งขันต่างๆ ที่อยู่ภายใต้กติกาการแข่งขันกีฬาลีลาศของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติข้อที่ 5 ยกเว้นข้อย่อยที่ 5 และ 6 กรรมการผู้ตัดสินของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะต้องมีใบ อนุญาตเป็นผู้ตัดสิน ของสหพันธ์ฯ  
 4.  กรรมการผู้ตัดสินของการแข่งขัน ครอบคลุมโดยกติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-4 a+b, 7 และ 8 จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 7 คน ในการตัดสินการแข่งขันระดับนานาชาติ
 5.  สำหรับการแข่งขันภายใต้กติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-4, 7 และ 8 คณะกรรมการผู้ตัดสินจะต้องเชิญจากประเทศ ต่างๆ ที่ไม่ซ้ำกัน
 6.  ในทุกๆ การแข่งขันระดับนานาชาติ คณะกรรมการผู้ตัดสิน จะต้องได้รับการรับรองเป็นทางการ โดยคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
 7.  ไม่อนุญาตให้กรรมการผู้ตัดสิน ทำหน้าที่ตัดสินคู่ของตัวเอง ในการแข่งขันที่จัดขึ้นสหพันธ์กีฬาลีลาศ
นานาชาติ

ประเภทของดนตรี

           ในการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติทั้งหมด ดนตรีที่ใช้จะต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะ ในแต่ละแบบของการลีลาศ ตัวอย่างเช่น ไม่อนุญาตให้ใช้ดนตรีที่จัดอยู่ในประเภทดิสโก้ ในการลีลาศประเภทลาตินอเมริกัน

โครงสร้างของดนตรีประกอบด้วย
1. จังหวะ  (beat)  หมายถึง  เสียงที่เกิดขึ้นและตกบนตัวโน้ตทุกตัว  หรือหมู่ของเสียงที่ทำให้เกิดจังหวะขึ้นในห้องเพลง  โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง เช่น  จังหวะ 2/4  จังหวะ 3/4 หรือจังหวะ 4/4  
2. เสียงเน้น  (Accent)  หมายถึง  เสียงที่เคาะลงบนจังหวะ  จะได้ยินชัดเจนมากกว่าเสียงเคาะในห้องเพลง    โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง
3. ห้องเพลง  (bar)  หมายถึง  กลุ่มของจังหวะที่ประกอบกันขึ้นเป็นช่วงหรือตอนปกติจะอยู่ระหว่างเสียงเน้นเสียงหนึ่งกับเสียงเน้นอีกเสียงหนึ่ง
4. ความเร็ว (Tempo)  หมายถึง อัตราความเร็วของดนตรีที่บรรเลงโดยใช้เวลาเป็นตัวกำหนด  เช่น  ใน 1 นาทีจะบรรเลงกี่ห้องเพลง  การหัดฟังจังหวะดนตรีควรเลือกฟังจากดนตรีที่มีเสียงชัดเจน  ฟังง่าย  ถ้าเป็นดนตรีจังหวะ 2/4  จะได้ยินเสียงเคาะลงบนจังหวะ 2 จังหวะใน 1 ห้องเพลง  เสียงที่ได้ยินแต่ละครั้งใน 1 ห้องเพลงนั้น  จะมีเสียงหนึ่งเป็นเสียงหนักและอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงเบาต่อเนื่องกันไปทุก ๆ ห้องเพลง  การฝึกนับจังหวะจะนับ  1 2  , 1 2  , 1 2 …………  ไปเรื่อย ๆ จนจบเพลง

ที่มา http://peggynarakjung.blogspot.com/2012/01/blog-post_5974.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น