วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์


ประโยชน์ของการเต้นลีลาส 

       จากสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคมปัจจุบัน  ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดปัญหาที่สลับซับซ้อน  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ  สังคมและการเมือง  สภาพการณ์เหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้ประชาชนประสบกับปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ  ซึ่งจิตแพทย์  นักจิตวิทยา  และนักการศึกษาต่างก็พยายามเน้นและชี้นำให้เห็นถึงความจำเป็น  เกี่ยวกับการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถผ่อนคลายความเครียด  และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น  ลีลาศเป็นกิจกรรมหนึ่ง  ซึ่งนอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียดแล้วยังช่วยพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์และสังคมได้เป็นอย่างดี  จึงพอสรุปประโยชน์ของการลีลาศได้  ดังนี้
1.  ก่อให้เกิดความซาบซึ้งในจังหวะดนตรี
2.  ก่อให้เกิดความสนุกสนาม  เพลิดเพลิน
3.  เป็นกิจกรรมนันทนาการ  และเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
4.  เป็นกิจกรรมสื่อสัมพันธ์ทางสังคม  ผู้ชายและผู้หญิงสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมพร้อมกันได้
5.  ช่วยพัฒนาทักษะทางกลไก  (Motor  Skill)
6.  ช่วยส่งเสริมสุขภาพพลานามัย  ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  ให้แข็งแรงสมบูรณ์อันจะทำให้มีชีวิตยืนยาวและมีความสุข
7.  ทำให้มีรูปร่างทรวดทรงงดงาม  สมส่วน มีบุคลิกภาพในการเคลื่อนไหวที่ดูแล้วสง่างาม    ยิ่งขึ้น
8.  ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์และสังคม
9.  ช่วยให้รู้จักการเข้าสังคม  และรู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมได้เป็นอย่างดี
10. ช่วยส่งเสริมให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง  กล้าแสดงออกในสิ่งที่ดีงาม
11. ทำให้มีความซาบซึ้งในวัฒนธรรมอันดีงาม  และช่วยจรรโลงให้คงอยู่ตลอดไป
12. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
13. เป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยแก้ไขข้อบกพร่องทางกาย 

กติกา



คู่แข่งขัน
1. คำจำกัดความของคู่แข่งขัน 
    คู่แข่งขัน 1 คู่ จะประกอบด้วย ชาย 1 คน และคู่เต้นที่เป็นหญิง 1 คน 

2. คู่แข่งขันที่ต่างสัญชาติกัน
1.1    คู่แข่งขันที่เคยเป็นตัวแทนประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่อนุญาตให้เป็นตัวแทนของประเทศอื่นอีกจน กว่าเวลาจะผ่านพ้นไป 12 เดือน     
2.2    ในกรณีที่เป็นการแข่งขัน ที่จัดโดยคณะกรรมการโอลิมปิคสากล ( International Olympic CommitteeIOC หรือสมาคมเวิลด์เกมส์นานาชาติ (International World Games Association: IWGA ) ไม่อนุญาตให้คู่แข่งขันที่ต่างสัญชาติกัน เข้าร่วมทำการแข่งขัน เพื่อให้เป็นไปตามกฎของคณะ กรรมการโอลิมปิคสากล คู่แข่งขันที่เป็นตัวแทนของชาตินั้น นักแข่งขันแต่ละคน จะต้องมีหนังสือเดินทางของชาติของตน ซึ่งส่งโดยสมาคมที่เป็นสมาชิกของ สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ  
  2.3     การแข่งขันชิงถ้วย Formation ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ( IDSF Championships / Cups Formation ) อย่างน้อยต้องมีนักกีฬาเข้าแข่งขันจำนวน 12 คน ในหนึ่งทีม ที่จะต้องจัดส่งหนังสือเดินทางของชาติตนเอง โดยสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ 
 

การแต่งกายของนักกีฬา

         สำหรับการแข่งขันทั้งหมดที่ได้จัดขึ้นโดย สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ  การ แต่งกายของผู้เข้าแข่งขัน ให้ปฏิบัติสอดคล้องกับ ระเบียบการแต่งกายของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ระเบียบการแต่งกายสำหรับการแข่งขันของสหพันธ์ฯ เหล่านี้ เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของกติกาการแข่งขัน ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ 
         สำหรับทุกๆ เกณฑ์อายุ : ส่วนสะโพกของฝ่ายหญิง ต้องปกปิดไว้ให้มิดชิดตลอดเวลา ประธานกรรมการ หรือผู้อำนวยการฝ่ายกีฬา ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ มีอำนาจที่จะตัดสิทธิ์คู่แข่งขัน ที่สวมใส่ชุดแข่งขันที่ไม่เป็นไปตามกฎระเบียบของข้อนี้ นอกเหนือจากนี้แล้ว คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ จะลงโทษทางวินัย ไม่ให้สิทธิ์คู่แข่งขัน เข้าร่วมในการแข่งขันต่างๆ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง


วิธีการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติต่างๆ

1. ประธานกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (โดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้ง) ซึ่งรับผิดชอบในการควบคุมดูแล การแข่งขันที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์  ในการแข่งขันนานาชาติใด ที่ประธานกรรมการไม่ได้ถูกแต่งตั้งโดยสหพันธ์ ผู้จัดการแข่งขันจะต้องแต่งตั้งประธานเอง (โดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้ง) 
2.  กรรมการผู้ตัดสินในการแข่งขันระดับนานาชาติต่างๆ จะต้องมีกรรมการผู้ตัดสิน ทำหน้าที่ตัดสินโดย
·         กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 7 คน โดยเป็นไปตามกติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1, 2, 4 a - c และ 7 
·         กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 5 คน ในข้อย่อยที่ 3, 5, 6 และ 8 
·         กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 3 คน ในการแข่งขันประเภท ทีม - คู่ ( Team Matches ) 
 3.  สำหรับการแข่งขันต่างๆ ที่อยู่ภายใต้กติกาการแข่งขันกีฬาลีลาศของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติข้อที่ 5 ยกเว้นข้อย่อยที่ 5 และ 6 กรรมการผู้ตัดสินของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะต้องมีใบ อนุญาตเป็นผู้ตัดสิน ของสหพันธ์ฯ  
 4.  กรรมการผู้ตัดสินของการแข่งขัน ครอบคลุมโดยกติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-4 a+b, 7 และ 8 จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 7 คน ในการตัดสินการแข่งขันระดับนานาชาติ
 5.  สำหรับการแข่งขันภายใต้กติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-4, 7 และ 8 คณะกรรมการผู้ตัดสินจะต้องเชิญจากประเทศ ต่างๆ ที่ไม่ซ้ำกัน
 6.  ในทุกๆ การแข่งขันระดับนานาชาติ คณะกรรมการผู้ตัดสิน จะต้องได้รับการรับรองเป็นทางการ โดยคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
 7.  ไม่อนุญาตให้กรรมการผู้ตัดสิน ทำหน้าที่ตัดสินคู่ของตัวเอง ในการแข่งขันที่จัดขึ้นสหพันธ์กีฬาลีลาศ
นานาชาติ

ประเภทของดนตรี

           ในการแข่งขันของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติทั้งหมด ดนตรีที่ใช้จะต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะ ในแต่ละแบบของการลีลาศ ตัวอย่างเช่น ไม่อนุญาตให้ใช้ดนตรีที่จัดอยู่ในประเภทดิสโก้ ในการลีลาศประเภทลาตินอเมริกัน

โครงสร้างของดนตรีประกอบด้วย
1. จังหวะ  (beat)  หมายถึง  เสียงที่เกิดขึ้นและตกบนตัวโน้ตทุกตัว  หรือหมู่ของเสียงที่ทำให้เกิดจังหวะขึ้นในห้องเพลง  โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง เช่น  จังหวะ 2/4  จังหวะ 3/4 หรือจังหวะ 4/4  
2. เสียงเน้น  (Accent)  หมายถึง  เสียงที่เคาะลงบนจังหวะ  จะได้ยินชัดเจนมากกว่าเสียงเคาะในห้องเพลง    โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง
3. ห้องเพลง  (bar)  หมายถึง  กลุ่มของจังหวะที่ประกอบกันขึ้นเป็นช่วงหรือตอนปกติจะอยู่ระหว่างเสียงเน้นเสียงหนึ่งกับเสียงเน้นอีกเสียงหนึ่ง
4. ความเร็ว (Tempo)  หมายถึง อัตราความเร็วของดนตรีที่บรรเลงโดยใช้เวลาเป็นตัวกำหนด  เช่น  ใน 1 นาทีจะบรรเลงกี่ห้องเพลง  การหัดฟังจังหวะดนตรีควรเลือกฟังจากดนตรีที่มีเสียงชัดเจน  ฟังง่าย  ถ้าเป็นดนตรีจังหวะ 2/4  จะได้ยินเสียงเคาะลงบนจังหวะ 2 จังหวะใน 1 ห้องเพลง  เสียงที่ได้ยินแต่ละครั้งใน 1 ห้องเพลงนั้น  จะมีเสียงหนึ่งเป็นเสียงหนักและอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงเบาต่อเนื่องกันไปทุก ๆ ห้องเพลง  การฝึกนับจังหวะจะนับ  1 2  , 1 2  , 1 2 …………  ไปเรื่อย ๆ จนจบเพลง

ที่มา http://peggynarakjung.blogspot.com/2012/01/blog-post_5974.html

ประวัติลีลาศในไทย


ประวัติลีลาศในประเทศไทย

                ไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัดว่าการลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยใด สันนิษฐานว่า
ชาวต่างชาติได้นำมาเผยแพร่ในรัชสมัยของพรบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุลศักราช 1226 จากบันทึกของแหม่มแอนนาทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า คนไทยลีลาศเป็นมาตั้งแต่สมัยพระองค์ และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกของไทย ตาม บันทึกกล่าวว่า แหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักวิธีการเต้นรำแบบสุภาพซึ่งเป็นที่ นิยมของชาวตะวันตก โดยบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก นิยมเต้นกันในวังของประเทศในแถบยุโรป พร้อมกับแสดงท่าทางการเต้น พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไป แขนต้องวางให้ถูก แล้วพระองค์ท่านก็เต้นทำให้แหม่มแอนนาประหลาดใจ จึงไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์ จึงได้ได้สันนิษฐานกันว่า พระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง การเต้นรำ

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนใหญ่มีแต่เจ้านายและขุนนาชั้นผู้ใหญ่ที่เต้นรำกันพอเป็น
โดยเฉพาะเจ้านายที่ว่าการต่างประเทศได้มีการเชิญฑูตานุฑูต และแขกชาวต่างประเทศมาชุมนุมเต้น รำกันที่บ้าน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในการเฉลิมพระชนมพรรษาหรือเนื่องในวันบรมราชาภิเษก เป็นต้น จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสราญรมย์ ให้เป็นศาลาว่าการกระทรวงการต่างประเทศ งานเต้นรำที่เคยจัดกันมาทุกปีก็ได้ย้ายมาจัดกันที่วังสราญรมย์
      ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทุกปีที่มีงามเฉลิมพระชนมพรรษานิยมจัดให้มีการเต้นรำขึ้นในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธาน ซึ่งมีเจ้านายและบรรดาฑูตานุฑูตทั้งหลายเข้าเฝ้า ส่วนแขกที่จะเข้าร่วมงานได้ต้องได้รับบัตรเชิญเท่านั้น จึงสามารถเข้าร่วมงานได้

ในสมัยรัชกาลที่ 7 การลีลาศได้รับความนิยมมากขึ้น จึงมีสถานที่ลีลาศเกิดขึ้นหลายแห่ง
เช่น ห้อยเทียนเหลา เก้าชั้น คาเธ่ย์ และ โลลิต้า เป็นต้น
นปี พ..2475 นายหยิบ ณ นคร ได้ร่วมกับหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วราวรรณ จัดตั้งสมาคมเกี่ยวกับการเต้นรำขึ้น แต่ไม่ได้จดทะเบียนให้เป็นที่ถูกต้องแต่ประการใด โดยใช้ชื่อว่าสมาคมสมัครเล่นเต้นรำ มีหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ เป็นนายกสมาคม นายหยิบ ณ นคร
เป็นเลขาธิการสมาคม สำหรับกรรมการสมาคมส่วนใหญ่ก็เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ได้แก่ หลวงเฉลิม สุนทรกาญจน์ พระยาปกิตกลสาร พระยาวิชิต หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ หลวงชาติตระการโกศล และ นายแพทย์เติม บุนนาค สมาชิกของสมาคมส่วนมากเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มักพาลูกของตนมาเต้นรำด้วย ทำให้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการจัดงานเต้นรำชึ้นบ่อยๆ ที่สมาคมคณะราษฎร์และวังสราญรมย์ สำหรับวังสราญรมย์นี้เป็นสถานที่ที่จัดให้มีการแข่งขันเต้นรำขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งผู้ชนะเลิศเป็นแชมเปียนคู่แรกคือ พลเรือตรีเฉียบ แสงชูโต และประนอม สุขุม

ในช่วงปี พ..2475-2476 มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งเรียกสมาคมสมัครเล่นเต้นรำว่าสมาคม... (คำผวนของคำว่าเต้นรำซึ่งฟังแล้วไม่ไพเราะหู ดังนั้นหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ จึงบัญญัติศัพท์คำว่า ลีลาศ ขึ้นแทนคำว่า เต้นรำ ต่อมาสมาคมสมัครเล่นเต้นรำก็สลายตัวไป แต่ยังคงมีการชุมนุมกันของครูลีลาศอยู่เสมอ โดยมีนายหยิบ ณ นคร เป็นผู้ประสานงาน
การลีลาศได้ซบเซาลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งสงครามสงบลงในเดือน
กันยายน พ.. 2488 วงการลีลาศของไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้นใหม่ มีโรงเรียนสอนลีลาศเกิดขึ้นหลายแห่งโดยเฉพาะสาขาบอลรูมสมัยใหม่ ( Modern Ballroom Branch ) ซึ่งอาจารย์ยอด บุรี ได้ไปศึกษามาจากประเทศอังกฤษและเป็นผู้นำมาเผยแพร่ ช่วยทำให้การลีลาศซึ่งศาสตราจารย์ศุภชัย วานิชวัฒนาเป็นผู้นำอยู่ก่อนแล้วเจริญขึ้นเป็นลำดับ
ในปี พ..2491 มีบุคคลชั้นนำในการลีลาศซึ่งเคยเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันลีลาศสมัย
สงครามโลกครั้งที่ 2 อาทิ อุไร โทณวณิก กวี กรโกวิท จำลอง มาณยมณฑล ปัตตานะ เหมะสุจิ และ นายแพทย์ประสบ วรมิศร์ ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมลีลาศแห่งประเทศไทยขึ้น โดยสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ อนุญาตให้จัดตั้งได้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ..2491 มีหลวงประกอบนิติสาร เป็นนายกสมาคมคนแรก ปัจจุบันสมาคมลีลาศแห่งประเทศไทยเป็นสมาชิกของสภาการลีลาศนานาชาติด้วยประเทศหนึ่ง
หลังจากนั้นการลีลาศในประเทศไทยก็เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย มีสถานลีลาศเปิดเพิ่มมาก
ขึ้น มีการจัดแข่งขันลีลาศมากขึ้น ประชาชนสนใจเรียนลีลาศกันมากขึ้น มีการจัดตั้งสมาคมครูลีลาศ ขึ้นสำหรับเปิดสอนลีลาศ และยังได้จัดส่งนักลีลาศไปแข่งขันในต่างประเทศและจัดแข่งขันลีลาศนานาชาติขึ้นในประเทศไทย ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดให้โรงเรียนสอนลีลาศต่างๆ อยู่ในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ และมีการกำหนดหลักสูตรลีลาศขึ้นอย่างเป็นแบบแผนทำให้การลีลาศมรมาตรฐานยิ่งขึ้น ส่งผลให้การลีลาศในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและนิยมในวงการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนให้ความสนใจ ทำให้มีโรงเรียนหรือสถาบันเปิดสอนลีลาศขึ้นเกือบทุกจังหวัด สำหรับในสถานศึกษาก็ได้มีการจัดวิชาลีลาศเข้าไว้ในหลักสูตรตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษาปัจจุบันลีลาศได้รับการรับรองให้เป็นกีฬาจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee = IOC ) อย่างเป็นทางการมรการประชุมครั้งที่ 106 วันที่ 4 กันยายน พ.. 2540 ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับในประเทศไทยคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในสมัยที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ ได้มีมติรับรองลีลาศเป็นการกีฬาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ..2541 จัดเป็นกีฬาลำดับที่ 45 ของการกีฬาแห่งประเทศไทย และยังได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาลีลาศ ( สาธิต )ขึ้นเป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6-20 ธันวาคม พ..2541
ที่มา http://www.oknation.net/blog/health-stnb/2011/01/12/entry-1

ประวัติ



ประวัติความเป็นมาของลีลาศ

การเต้นรำพื้นเมืองในฉบับที่เรียกว่า ลีลาศนี้มีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการเต้นรำพื้นเมือง (Folk Dance) และการเต้นบัลเลย์ (Ballet) เป็นอย่างยิ่ง ในที่นี้จะแบ่งประวัติความเป็นมาหรือพัฒนาการของลีลาศออกเป็น 2 สมัย คือ สมัยเก่าและสมัยใหม่

สมัยเก่า
ความต้องการการเต้นรำเป็นหนึ่งในสัญชาตญาณของมนุษย์ ถึงกับมีการกล่าวคำว่า การเต้นรำนั้นเก่าแก่และมีมาก่อนสิ่งอื่นใด ยกเว้นการดื่มกินและความรักเป็นความจริงที่ว่า อารมณ์เป็น ตัวกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวขึ้น และความต้องการอันเป็นสัญชาตญาณอันเก่าแก่นี้ก็ยังคงมีอยู่ตลอดมาไม่เปลี่ยน แปลง แม้ว่าอารยธรรม ความเจริญ และสภาพแวดล้อมต่างๆจะสอนให้มนุษย์รู้จักระงับอารมณ์ความต้องการตามธรรมชาติก็ตาม ประกอบกับการเกิดจังหวะดนตรีต่างๆ ที่ได้นำมาผสมผสานเข้ากับการเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว การเต้นรำจึงได้เกิดขึ้น แล้วจึงอาจสรุปได้ว่า อารมณ์และจังหวะดนตรีทำให้เกิดการเต้นรำขึ้น
การเต้นรำที่มีรูปแบบที่แน่นอนเกิดขึ้นในช่วงกลาง คริสต์ศตวรรษที่ 17 หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ก่อตั้งราชบัณฑิตสภาการดนตรีและการเต้นรำขึ้น (Acadmie Royale de Musique et de Danse) โดยบรรดาสมาชิกราชบัณฑิตยสภาฯ ได้กำหนดตำแหน่งการวางเท้าทั้ง 5 ก้าวในการเต้นรำแบบ แซงปาสใน ขณะเดียวกันได้มีการกำหนดกฎระเบียบที่เคร่งครัดในการเต้นรำทุกประเภทขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงเวลานี้เป็นช่วงความรุ่งเรือของการเต้นรำแบบมินูเอและกาวอตเต้ มินูเอซึ่งแต่เดิมเป็นการเต้นรำพื้นเมืองของชาวปัวตูได้เข้ามาในปารีสในปี ค.ศ. 1650 และต่อมาได้มีการใส่ทำนองดนตรีโดย หลุยส์และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงนำเข้ามาใช้เต้นรำในที่สาธารณชน จึงอาจกล่าวได้ว่าได้มีการควบคุมการเต้นรำแบบบอลรูมตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 18

สมัยใหม่
การเต้นรำที่จัดอยู่ในช่วงสมัยใหม่เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1812 เมื่อมีการนำการจับคู่เต้นรำแบบใหม่ คือ การจับมือและโอบเอวคู่เต้นรำ (Modern Hold) มาใช้กับการเต้นรำจังหวะวอลซ์ (Waltz) ซึ่งในขณะนั้นถูกต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายศาสนจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ปกครอง แต่ในที่สุดสังคมก็ยอมรับการเต้นรำแบบใหม่นี้ เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ (Alexander) แห่งรัสเซียได้เต้นรำจังหวะวอลซ์ที่อัลแมค ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับผู้ที่เกียรติยศชั้นสูง
ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1960 ได้มีการเต้นรำจังหวะใหม่ๆ เกิดขึ้น โดยพวกอเมริกันนิโกร คือ จังหวะทวิสต์ (Twist) และจังหวะฮัสเซิ่ล (Hustle) ซึ่งได้รับความนิยมไปทั่วโลกและต่อมาในปี ค.ศ. 1970 เกิดจังหวะการเต้นรำที่เรียกว่า ดิสโก้ (Disco Dancing) ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นจังหวะที่ผู้เต้นมีอิสระในการเคลื่อนไหวอย่างมาก และยังมีการเต้นรำแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกหลายจังหวะ เช่น แฟลชแดนซ์ (Flash Dance) , เบรกแดนซ์ (Break Dance) และแรพ (Rap) เป็นต้น ซึ่งมักมีการกำเนิดจากพวกอเมริกัน
นิโกร นอกจากนั้นยังมีการเต้นรำโดยใช้ท่าการบริหารร่างกายประกอบจังหวะดนตรีที่ เรียกว่า แอโรบิกแดนซ์ (Aerobic Dance) ซึ่งยังคงได้รับความนิยมมากจนถึงปัจจุบันนี้ การเต้นรำในแบบและจังหวะต่างๆ เหล่านี้ไม่จัดอยู่ในประเภทของการลีลาศ 
ที่มา http://www.oknation.net/blog/health-stnb/2011/01/12/entry-1